บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สติปัฏฐาน 4



ผมศึกษาการปฏิบัติธรรมในประเทศไทยมาตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี ที่ว่าศึกษานั้น หมายถึงว่า ทั้งอ่านหนังสือและก็ปฏิบัติไปด้วย

จำได้ว่า สมัยนั้น มักนิยมแบ่งการปฏิบัติธรรมออกตาม “คำภาวนา” ดังนั้น ก็จะแบ่งสายปฏิบัติธรรมออกเป็นสายพุทโธ สายนะมะพะทะ สายยุบหนอพองหนอ และสายสัมมา อะระหัง เป็นต้น

ในระยะหลังนี้ สาวกของพระพม่า โฆษณาว่า ในการปฏิบัติธรรมแบบของพระพม่าจะทำให้บรรลุมรรคผลได้ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน 

พวกนิยมของ “แดกด่วน” แบบโง่ดักดาน ก็ตาลีตาเหลือกเข้าไปปฏิบัติกันมากมาย 

คำโฆษณาของสาวกพระพม่าที่ว่า ถ้าปฏิบัติแล้วจะบรรลุมรรคผลภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วันนั้น พระพม่าไม่ได้คิดเอง แต่ไปเอามาจากสติปัฏฐานสูตร

อย่างไรก็ดี  สาวกของพระพม่าและพระพม่าเองก็ไม่เห็นจะมีใครบรรลุมรรคผลภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วันสักคน  เอาแค่ใกล้เคียงก็ไม่มี

นั่นก็แสดงว่า พระพม่ากับสาวกจะต้องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของท่านแน่ๆ

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายผิดๆ เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ไว้ ดังนี้

สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่าสติปัฏฐานนั้น มาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ

โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐานแปลได้หลายอย่างแต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น

โดยรวม คือ เข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

ข้อความด้านบนนี้ พอยอมรับได้  ข้อความต่อไป ยอมรับไม่ได้เลย คนที่เอาความหมายนี้มาขึ้นไว้ในวิกิพิเดีย น่าจะเป็นพวกโง่แล้วขยัน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย

ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา

คือ ไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา

คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

คำว่า กายานุปัสสนา มาจาก กาย + อนุ + ปัสสนา คำว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา ก็เช่นเดียวกัน  อนุ + ปัสสนา แปลว่า “ตามเห็น

การแปลสติปัฏฐาน 4 แบบด้านล่างนี้

การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน
การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน
การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน
การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน

คนแปล แปลมั่วสุดๆ ไม่ได้เป็นไปตามหลักภาษาศาสตร์  แปลตามหลักของกูเท่านั้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ยังมีมากกว่านี้  สนใจก็อ่านในบล็อกด้านล่างนี้

สติปัฏฐาน 4
01. ดร. สนองกับยุบหนอพองหนอ  http://sanongphongyup.blogspot.com
02. กายในกายคืออะไร  http://whatisbodyinbody.blogspot.com
03. กายในกายภายในภายนอก  http://bodyinbodyinandout.blogspot.com
04. กายธรรมสติปัฏฐาน  http://kaithamsatipatthan.blogspot.com
05. สติปัฏฐาน 4 ไม่เป็นวิปัสสนา  http://satipatthan.blogspot.com
06. พระพม่าตาบอด  http://blindburmamonk.blogspot.com
07. ความหลงผิดของพระพม่า  http://burmamonkbemisguided.blogspot.com/
08. สติปัฏฐานได้เพียงสติสัมปชัญญะ  http://satisampachanya.blogspot.com
09. เอกายนมรรค!!!  http://akayanamak.blogspot.com
10. มักกะลีผล  http://makkaliphol.blogspot.com/
11. นารีผล  http://nareephon.blogspot.com/
12. มหาสีสยาดอ  http://Mahasisayadau.blogspot.com
13. มหาโชดก  http://mahachodok.blogspot.com/
14. วิปัสสนามหาโชดก  http://mahachodok2.blogspot.com/
15. แนบ มหานีรานนท์  http://neapnamruup.blogspot.com
16. โกเอ็นกา  http://koenga.blogspot.com/
17. หลวงพ่อเทียน  http://luangphotian.blogspot.com/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น